- Ozone Laundry System
- Micro-Emulsion System
- Ozone for Air Treatment
- COD & BOD On-Line Water Analyzer
- On-Line Gas Analyser
- Ambient Air Quality Monitor
- Biogas
- Biomass
- Co-Generation
- Biodiesel
- Ozone for cooling Tower
 
 
 
  Micro-emulsion system
Customer
  • Imperial Queens's Park Hotel

  • Centara Grand Beach Resort

  • Thai President Foods Public Company Limited
 
Micro-emulsion system
 
“MEC-system เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งสามารถให้ทั้งการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม”

การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตานี้มีจุดประสงค์เพื่อลดมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะเขม่า , ฝุ่น จนถึงก๊าซเสียจากการเผาไหม้ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงอุตสาหกรรม ก็เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปล่อยมลภาวะจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงออกสู่อากาศ โดยมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมให้มีการปล่อยมลภาวะออกมาให้น้อยที่สุด

นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาลงอย่างน้อย 3% โดยการใช้เทคโนโลยี Micro-emulsion ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ของน้ำมันเตา ทำให้สามารถเผาไหม้เชื้อเพลิงได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ลดการใช้เชื้อเพลิง ตลอดจนมลภาวะจากการเผาไหม้

ซึ่งหากไม่มีการใช้ MEC-system แล้ว อาจจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ดักฝุ่นเพิ่มเติมเพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นและก๊าซเสียให้อยู่ในขอบเขต ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้ว ยังเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนของการเดินเครื่องดักฝุ่น สารเคมีในการบำบัดน้ำที่มีสภาพเป็นกรด ตลอดจนความยุ่งยากในการจัดการอื่นๆอีก

ด้วยะระบบ MEC และ คุณสมบัติของ Micro-Emulsion ต่อไปนี้
 
  • Micro-Emulsion โมเลกุลระดับนาโน (เล็กกว่า 1 micron) ของน้ำมันกับน้ำ ที่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
  • MEC system สร้าง Micro-Emulsion เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำมันกับอากาศ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ในห้องเผาไหม้
  • MEC system... ช่วยให้การเผาไหม้ของน้ำมัน ในหม้อกำเนิดไอน้ำ หรือ เตาเผาอุตสาหกรรม มีความสมบูรณ์มากขึ้น ลดการใช้น้ำมันลงได้
  • MEC system... ช่วยลดมลภาวะจากการเผาไหม้ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหรือควบคุม ปริมาณฝุ่น เขม่า ควัน ให้เป็นไปตามกฎหมาย
 
Micro-emulsion System (MEC system) เป็นระบบที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเตาให้สามารถเผาไหม้ได้มากขึ้น โดยการเพิ่มความสามารถในการแตกตัวของละอองน้ำมันที่พ่นออกมาจากหัวฉีด ( Nozzle) ของหัวเผา (Burner) ขณะที่อยู่ในกระบวนการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ ( Combustion Chamber) ทำให้เชิ้อเพลิงสัมผัสกับออกซิเจนได้มากขึ้น และส่งผลให้การเผาไหม้สมบูรณ์มากขึ้น ประสิทธิภาพในการเผาไหม้สูงขึ้น ประหยัดน้ำมัน และ ทำให้มลภาวะจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะเขม่าลดลงเป็นอย่างมาก

Technology Overview
สำหรับหม้อกำเนิดไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวนั้น โดยปกติ ละอองน้ำมันที่พ่นออกหัวฉีดที่มีคุณภาพสูงจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 micron ซึ่งแม้ว่าจะมีขนาดที่เล็กมากแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากความหนืดและเวลาในการเผาไหม้ที่มีจำกัด ทำให้ยังมีองค์ประกอบที่เป็นเชื้อเพลิงบางส่วนที่ไม่ถูกเผาไหม้ ทำให้เกิดเขม่าและควันดำ

ต่อมามีการพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Micro-emulsion ซึ่งด้วยวิธีการนี้จะทำให้ขนาดของละอองน้ำมันลดลงได้อีก โดยจะมีค่าเหลือเพียง 0.15-0.5 micron ผลก็คือ ยิ่งทำให้การเผาไหม้ มีความสมบูรณ์มากขึ้นไปอีก โดยเราสามารถเปรียบเทียบขนาดของพื้นที่ผิวของละอองน้ำมัน 1 ลิตร ที่มาจากวิธีการต่างๆกันได้ดังนี้

น้ำมันปกติผ่าน Burner -> ละอองขนาด 50 micron -> พื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ 13 ตารางเมตร Emulsion ของน้ำมันผ่าน Burner -> ละอองขนาด 5 micron -> พื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ 130 ตารางเมตร Micro Emulsion ของน้ำมันผ่าน Burner -> ละอองขนาด 0.15 micron -> พื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ 4,300 ตารางเมตร
 
 
MEC-system เป็นระบบที่ใช้สร้าง Micro-emulsion โดยจะสร้าง Atomized Stabilize Fuel จากการแทรกโมเลกุลของน้ำเข้าไปในหยดน้ำมันแล้วทำให้คงตัวโดยผ่านสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ผลที่ได้จะเป็น atomized micro-emulsion ซึ่งมีขนาดระหว่าง 0.15-0.5 micron ขนาดที่เล็กมากนี้เองที่ทำให้เชื้อเพลิงที่ผ่านระบบ MEC-System มีลักษณะเป็นหยดโดยมีเชื้อเพลิงเป็นฟิล์มหุ้มผิวภายนอกและมีน้ำอยู่ภายใน มีความเสถียร คงตัวที่อุณภูมิสูง และไม่แยกตัวออกจากกันเมื่อทิ้งไว้ในบรรยากาศ นอกจากนี้ จากลักษณะแบบนี้เองเมื่อถูกพ่นเข้าไปในห้องเผาไหม้แล้ว น้ำจะกลายเป็นไออย่างรวดเร็วจนมีลักษณะเหมือนการระเบิด ซึ่งเรียกว่าการเกิด Second Atomize ทำให้พื้นที่ผิวของเชื้อเพลิงที่สัมผัสกับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นไปอีก ปฏิกิริยาการเผาไหม้ก็ยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น และลดมลภาวะจากการเผาไหม้ได้มาก

ประโยชน์ที่ได้รับจาการใช้ระบบ
MEC
 
  • สามารถประหยัดพลังงานได้ตั้งแต่ 3 ถึง 15%
  • สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ได้ถึง 5%
  • ลดฝุ่น เขม่า ควัน จากปล่องไอเสียได้มากกว่า 50%
  • ลดปริมาณ ก๊าซ CO ได้สูงสุดถึง 50%
  • ลดปริมาณ ก๊าซ NOX ได้สูงสุดถึง 20%
  • ลดปริมาณ ก๊าซ SOX ได้สูงสุด 35%
 
นอกจากประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้แล้ว การใช้ Micro-emulsion ยังช่วยรักษาค่าประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนของหม้อกำเนิดไอน้ำให้มีค่าลดลงช้ากว่าการใช้น้ำมันเตาปกติ ซึ่งจะมีการจับตัวกันของเขม่าที่เหลือจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นฟิล์มหนาที่ผิวด้านในของท่อไฟ (กรณีที่หม้อกำเนิดไอน้ำเป็นแบบท่อไฟ) อันจะส่งผลให้การแลกเปลี่ยนความร้อนของหม้อกำเนิดไอน้ำลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของระบบ MEC
ในด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากขึ้น ปริมาณเขม่า ฝุ่น และก๊าซเสียจากกระบวนการเผาไหม้ จะมีค่าลดลงอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ปริมาณของเสียเหล่านี้ มีค่าอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญมาก ที่หลังจากการใช้งานระบบ MEC-system นี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น Scrubber, ตัวดักฝุ่น etc. เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้อีก ทำให้ลดต้นทุนที่ต้องลงทุนเพิ่มในอนาคต ตลอดจนลดต้นทุนในการเดินเครื่องอุปกรณ์เสริมเหล่านี้อีกด้วย

การเลือกใช้งานระบบ MEC
1. หม้อกำเนิดไอน้ำหรือเตาเผา ที่ ใช้น้ำมันเตา มากกว่า 150,000 ลิตรต่อเดือน ลดการใช้น้ำมันเตา มากกว่า 7,500 ลิตรต่อเดือน คิดเป็นค่าน้ำมัน ที่ประหยัดได้ มากกว่า 1,350,000 บาทต่อปี
2. หม้อกำเนิดไอน้ำหรือเตาเผา ที่ ใช้น้ำมันดีเซล มากกว่า 14,500 ลิตรต่อเดือน เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเตา ลดค่าใช้จ่ายมากกว่า 40%
3. หม้อกำเนิดไอน้ำหรือเตาเผา ที่มีการปล่อยฝุ่น เขม่า ควัน หรือก๊าซเสีย จากการเผาไหม้ ในปริมาณที่มากเกินมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ
 
ตัวอย่างการคำนวณผลประหยัดค่าใช้จ่ายจากการติดตั้งระบบ MEC

กรณีที่ 1 การประหยัดน้ำมัน เตา 3 - 15%

โรงงานแห่งหนึ่ง มีอัตราการใช้น้ำมันเตา เกรด C 600,000 ลิตรต่อเดือน ที่ราคา 14 บาทต่อลิตร หลังติดตั้งระบบ MEC ได้ผลการประหยัดขั้นต่ำ 3 % ( รับประกันผลการประหยัด) จะสามารถลดการใช้น้ำมันเตาได้เท่ากับ 3 % x 600,000 = 18,000 ลิตรต่อเดือน ปริมาณการประหยัดน้ำมันเตาต่อปีเท่ากับ 12 x 18,000 = 216,000 ลิตรต่อปี คิดเป็นค่าน้ำมันที่ประหยัดได้เท่ากับ 14 x 18,000 = 252,000 บาท / เดือน หรือคิดเป็นมูลค่าต่อปีเท่ากับ 12 x 252,000 = 3,024,000 บาทต่อปี
 
กรณีที่ 2 เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเตา
โรงแรมแห่งหนึ่ง มีอัตราการใช้น้ำมันดีเซล 15 ,000 ลิตรต่อเดือน ที่ราคา 2 6 บาทต่อลิตร หลังติดตั้งระบบ MEC ได้ทำการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตา เกรด A ที่ราคา 1 4 บาทต่อลิตร ส่วนต่างราคาน้ำมันต่อลิตรเท่ากับ 2 6 – 1 4 = 1 2 บาทต่อลิตร จะสามารถลดค่าน้ำมันต่อเดือนได้เท่ากับ 1 2 x 15,000 = 180,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ต่อปีเท่ากับ 12 x 240,000 = 2,160,000 บาทต่อปี
 

ลูกค้าที่ได้ทำการติดตั้งระบบ MEC SYSTEM
IMPERIAL QUEEN'S PARK HOTEL

 

ก่อนการติดตั้งระบบ MEC

หลังการติดตั้งระบบ MEC

 

ตารางเปรียบเทียบผลตรวจวัดปริมาณฝุ่น และก๊าซจากปล่องควัน ก่อน - หลังใช้ระบบ MEC

 
รายการตรวจวัด Unit ก่อน หลัง ค่ามาตราฐาน Remark
Total Suspended Particulate (TSP); ปริมาณฝุ่น mg/m3 427.37 52.08 240 ลดลง 87.8%
SO2 ppm 44.84 29.28 950 ลดลง 34.7%
CO ppm 195 64 690 ลดลง 67.2%
Efficiency of boiler % 86.3 93.6 - เพิ่มขึ้น 8.4%
 

ผลการประหยัดหลังการติดตั้งระบบ MEC SYSTEM ที่ IMPERIAL QUEEN'S PARK HOTEL

(1) ผลการประหยัดค่าน้ำมันหลังการติดตั้งระบบ MEC (ใช้น้ำมันเตา A )

 
เดือน ชั่วโมงการ ทำงาน ต่อวัน ปริมาณน้ำมัน
ที่ใช้ในปี 2006 หลังติดตั้ง Mec( ลิตร / ชั่วโมง )
ปริมาณน้ำมัน
ที่ใช้ในปี
2004 และ 2005
( ลิตร /
ชั่วโมง )
ปริมาณน้ำมัน
ที่ประหยัดได้
( ลิตร /
ชั่วโมง )
จำนวนเงินที่ ประหยัดได้
(Baht )
%
ผลการ ประหยัด
เมษายน 13.48 200 220 20 37,609.20 9.1
พฤษภาคม 15.28 175 188 13 95,446.52 6.9
 

(2) ผลการประหยัดค่าน้ำมันหลังการติดตั้งระบบ MEC (เปลี่ยนจากน้ำมันเตา A เป็นน้ำมันเตา C )
     - ตารางเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำมันที่ประหยัดได้

 
เดือน ปริมาณน้ำมันที่ใช้ (ลิตร)

ปริมารน้ำมันที่ประหยัดได้ (ลิตร)

น้ำมันเตาเกรด A

ปี2006

น้ำมันเตาเกรด c

ปี2007
กุมภาพันธ์ 101,613 67,830 33,783
มีนาคม 114,646 84,392 30,254
เมษายน 98,325 82,439 15,886
 

     - ตารางแสดงผลการประหยัดค่าน้ำมัน หลังการเปลี่ยนน้ำมันเตาเกรด A เป็น เกรด C

 
เดือน ปริมาณน้ำมันที่ใช้ (ลิตร) ผลการประหยัด ที่ได้ต่อเดือน (บาท/เดือน)

 

น้ำมันเตาเกรด A

ปี2006

น้ำมันเตาเกรด c

ปี2007
กุมภาพันธ์ 1,548,042 806,203 741 ,839
มีนาคม 1,759,706 1,013,075 746,631
เมษายน 1,498,142 1,048,613 449,529
 

CENTARA GRAND BEACH RESORT IN SAMUI.

การเปลี่ยนชนิดของน้ำมันจากการใช้น้ำมันดีเซล เป็นน้ำมันเตาควบคู่การใช้ Mec system

 
 

ผลการประหยัดหลังการติดตั้งระบบ MEC SYSTEM ที่ Centara Grand Beach Resort

  1. ผลการประหยัดค่าน้ำมันที่ได้ต่อเดือน 190,000 - 210,000 Baht
  2. ปริมาณฝุ่น เขม่า และปริมาณก๊าซที่ได้ไม่เกินมาตราฐานที่ทางกรมควบคุมโรงงาน และกรมควบคุมมลพิษระบุไว้
ภาพเปรียบเทียบผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น และก๊าซจากปล่องควัน หลังใช้ระบบ Mec System.
 

การใช้น้ำมันดีเซล

การใช้น้ำมันเตาควบคู่การใช้ Mec system

 

ตารางเปรียบเทียบผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น และก๊าซจากปล่องควัน หลังใช้ระบบ Mec System.

 
Description

Unit

หลังติดตั้ง

ค่ามาตราฐาน

Total Suspended Particulate (TSP) ปริมาณฝุ่น และเขม่าควัน mg/m3 129.90 240
SO2 ppm 51.31 950
CO ppm 73 690
NO2 ppm 0.43 200
Efficiency of boiler % เพิ่มขึ้น -
 
 

บริษัท ไทยเพรสิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด ( มหาชน ) นิคมอุตสาหกรรมสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน
(Thai President Foods Public Company)

 
สำหรับหม้อดันไอน้ำขนาด 10 กรัม 1 เครื่อง
 
ภาพหลังการติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา
   
ระบบ micro emulsion; MEC system
 

วิธีการประเมินผล

  1. เปรียบเทียบอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำ (หักปริมาณที่โบล์วดาวน์) ก่อน-หลัง การใช้งานระบบ
  2. เปรียบเทียบผลการปล่อยอากาศเสียจากปล่องไอเสียของหม้อไอน้ำที่ทำการติดตั้งระบบ ก่อน-หลัง
ผลการบันทึกข้อมูล (เก็บข้อมูลทุกๆ 1 ชั่วโมง ระหว่างที่มีการใช้งานระบบ)

อัตราการใช้เชื้อเพลิง

ข้อมูลก่อนการใช้งานไมโครอีมัลชั่น
 
ข้อมูลหลังการใช้งานไมโครอีมัลชั่น
 

อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำก่อนการติดตั้งระบบ = 74.19 ลิตร/ตันไอน้ำ
อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำหลังการติดตั้งระบบ = 65.34 ลิตร/ตันไอน้ำ
\ ใช้เชื้อเพลิงลดลง = 74.19 - 65.34 = 8.85 ลิตร/ตันไอน้ำ

ผลประหยัดจากการใช้ระบบ MEC = 11.9 %

จากข้อมูลอัตราการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ย = 231,278 ลิตรต่อเดือน

ปริมาณน้ำมันเตาที่จะประหยัดได้ต่อเดือน = 231 ,278 x 11.9% ลิตรต่อเดือน

= 27,522 ลิตรต่อเดือน

คิดเป็นมูลค่าน้ำมันเตา( @18.20 บาทต่อลิตร) = 500 ,902 บาทต่อเดือน

มูลค่าการประหยัดต่อปี = 6 ,010,823 บาท

อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำก่อนการติดตั้งระบบ = 74.19

ลิตร/ตันไอน้ำ

อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำหลังการติดตั้งระบบ = 65.34 ลิตร/ตันไอน้ำ
\ ใช้เชื้อเพลิงลดลง = 74.19 - 65.34 =   8.85 ลิตร/ตันไอน้ำ
ผลประหยัดจากการใช้ระบบ MEC = 11.9 %  
       
จากข้อมูลอัตราการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ย = 231,278 ลิตรต่อเดือน
ปริมาณน้ำมันเตาที่จะประหยัดได้ต่อเดือน = 231 ,278 x 11.9% ลิตรต่อเดือน
  = 27,522 ลิตรต่อเดือน
คิดเป็นมูลค่าน้ำมันเตา( @18.20 บาทต่อลิตร) = 500 ,902 ลิตรต่อเดือน
มูลค่าการประหยัดต่อปี = 6 ,010,823 บาท
       

ตารางสรุปผลการตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องระบาย

รายการตรวจ หน่วย ค่าที่ตรวจวัดได้ % diff ครั้งที่ 1 กับ 3 ค่ามาตรฐาน
ปริมาณออกซิเจน ( O 2 ) % 7.2 6.9 5.8 ลดลง 19.4 % -
ปริมาณฝุ่น ( Total Suspended Particulate, TSP) mg/m 3 94.27 30.96 24.57 ลดลง 73.9% 240
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO 2 ) ppm 442.56 199.67 92.87 ลดลง 79.0% 650
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO 2 ) ppm 1.95 5.17 5.02 เพิ่มขึ้น 157 % 200
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ( CO) ppm 23.00 28.00 19.00 ลดลง 17.4 % 690
ค่าควันดำ ( Opacity) % 5.0 5.0 5.0 เท่าเดิม 10
 
หมายเหตุ : ครั้งที่ 1 ก่อนติดตั้งระบบ
ครั้งที่ 2 หลังติดตั้งระบบ ก่อนปรับอัตราการป้อนอากาศเข้าหม้อไอน้ำ
ครั้งที่ 3 หลังติดตั้งระบบ หลังปรับอัตราการป้อนอากาศเข้าหม้อไอน้ำ
 
Contact Energica
Tel/Fax.:+662 865 5331
www.energica.co.th